Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

s04 202 1024x683 1
Screen Shot 2562 08 07 at 16.53.06 1024x670 1
12

การตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัวของตัวอ่อน (PGT)

ในอดีตคู่สมรสที่เป็นโรคหรือเป็นพาหะของโรคทางพันธุกรรมต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งจะสามารถวินิจฉัยได้หลังจากที่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น ทำให้ต้องยอมรับกับการให้กำเนิดบุตรที่มีความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรม หรือไม่ก็ต้องพิจารณายุติการตั้งครรภ์ 

ในปัจจุบันเมื่อได้มีการตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัวของตัวอ่อนใช้ร่วมกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว ทำให้สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนเพื่อหลีกเลื่ยงการตั้งครรภ์บุตรที่มีความผิดปกติทางด้านพันธุกรรมได้ด้วยความแม่นยำมากถึง 95-99% ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการยุติการตั้งครรภ์ที่ทารกมีความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ โดย BIC มีรูปแบบการตรวจวิเคราะห์ดังนี้

  • Preimplantation Genetic Testing Aneuploidies (PGT-A)
  • Preimplantation Genetic Testing for Monogenic/Single Gene Disease (PGT-M)
  • Preimplantation Genetic Testing for Chromosomal Structural Rearrangement (PGT-SR)

Preimplantation Genetic Testing Aneuploidies (PGT-A)

ก่อนนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า การตรวจคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมระยะก่อนฝังตัว (PGS) โดย PGT-A เป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมได้ทั้งหมด 23 คู่ BIC ใช้วิธีการตรวจ Next Generation Sequencing (NGS) ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจพบโรคที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down  Syndrome), กลุ่มอาการพาทู (Patau Syndrome) และ กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward Syndrome) ในทารกได้ 

PGT-A เหมาะสำหรับ

  • คู่สมรสที่มีประวัติความผิดปกติทางโครโมโซมในครอบครัว
  • คู่สมรสที่เคยมีประวัติมีบุตรที่เป็นโรคทางพันธุกรรม
  • คู่สมรสที่มีประวัติการแท้งบุตรมากกว่า 2 ครั้ง 
  • คู่สมรสซึ่งมีฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • คู่สมรสที่รักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้วมาก่อน แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากกกว่า 2 ครั้ง

Preimplantation Genetic Testing for Monogenic/Single Gene Disease (PGT-M)

ก่อนนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า การตรวจวินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยวในตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (PGD) PGT-M เป็นการตรวจวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีนเดี่ยว หรือยีนเดี่ยวที่เกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการให้กำเนิดบุตรที่มีความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรมได้

Who should use PGT-M?

  • ครอบครัวที่มีประวัติความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรม
  • คู่สมรสที่มีฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง ซึ่งมีประวัติโรคทางพันธุกรรม แบบ single gene disorder
  • คู่สมรสที่เคยมีประวัติมีบุตรที่เป็นโรคทางพันธุกรรม
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive ผู้ที่เป็นโรคจะต้องมียีนผิดปกติ 2 alleles ที่ได้รับมาจากทั้งบิดาและมารดา ตัวอย่างเช่น โรคธาลัสซีเมีย หากมียีนผิดปกติเพียง allele เดียว เรียกว่าเป็นพาหะของโรค จะมีสุขภาพแข็งแรงปกติ แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติให้บุตรในอนาคตได้
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant ผู้ที่เป็นโรคมีพ่อหรือแม่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นโรคด้วย ยกเว้นกรณีที่ผู้นั้นมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งพ่อแม่จะปกติทั้งคู่ ตัวอย่างเช่น โรคอะคอนโดพลาเชีย โรคกระดูกอ่อนไม่เจริญเติบโต เป็นต้น
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X-linked ตัวอย่างโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง, โรคตาบอดสี เป็นต้น

Preimplantation Genetic Testing for Chromosomal Structural Rearrangement (PGT-SR)

การสับเปลี่ยนตำแหน่งของโครงสร้างโครโมโซม (structural rearrangement) เป็นความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดขึ้นจากการสลับชิ้นส่วนของโครโมโซมโดยไม่มีการเพิ่มหรือลดสารพันธุกรรม ซึ่งเรียกว่ามีสถานะแบบสมดุล การที่บุคคลมีโครโมโซมสองโครโมโซมมีการสลับชิ้นส่วนกัน (reciprocal translocation) ส่งผลให้มีโอกาสสูงในการผลิตเซลล์สืบพันธุ์ที่มีสารพันธุกรรมไม่ครบ หรือมีบางส่วนเกินมา ส่งผลให้ตัวอ่อนมีชุดโครโมโซมไม่สมดุล PGT-SR ช่วยลดอัตราการแท้งจากการมีโครโมโซมที่ไม่สมดุลและเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ของตัวอ่อน

PGT-SR เหมาะสำหรับ

  • คู่สมรสที่มีประวัติการสับเปลี่ยนตำแหน่งของโครงสร้างโครโมโซม (chromosomal translocation)
  • คู่สมรสที่มีประวัติการแท้งบุตรมากกว่า 2 ครั้ง โดยเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม หรือไม่ทราบสาเหตุ
This site is registered on wpml.org as a development site.